บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พุทธคุณ – วิชชา [2]

ในบทความนี้ มาฟังคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “วิชชา” บทความที่สองต่อไป

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕

รูป จะกล่าวในที่นี้เฉพาะรูปหยาบๆ คือ สิ่งซึ่งธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้ารวมกันเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอัน  

แลเห็นด้วยตา เช่น ร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่า รูป เพราะเหตุว่า เป็นของ ซึ่งย่อมจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มี หนาวและร้อน เป็นต้น

กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูปนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูป เป็นต้น แต่ว่ายังไม่นำมาแสดงในที่นี้

การพิจารณาโดยสามัญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้าซึ้งเข้าทุกทีจนเห็นชัดว่า นี่มิใช่ตัวตนเราเขาอะไร สักแต่ว่า ธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป

ตาธรรมกายนั้น เห็นชัดเจนเห็นเกิด เห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ คู่กันไปทีเดียว .... นี่แหละเห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้ จึงปล่อยอุปาทานได้

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก ๔ กองนั้น ก็ทำนองเดียวกัน เห็นเกิดดับๆ ยิบไปเช่น เดียวกับเห็นในรูป

ทุกข์ เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ ๕ เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า

ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้วธรรมดามันก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย

เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามี ผมหงอกเป็นต้น ถ้าเราขืนมันตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบๆ ก็เห็นแล้วว่า เกิดทุกข์แล้วเกิดลำบาก แล้วถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมัน ก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมัน สิ่งไม่เที่ยง จะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ก็ยังขืนยึดว่าเป็นตัวตน

เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้อะไร? อุปาทานนั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้การขืนธรรมดาก็ไม่มี

ตามแนวที่พระปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสถามว่า เมื่อมันมีอาการแปรผันไปเป็นธรรมดาแก่ เจ็บตายเช่นนี้แล้ว เบญจขันธ์นี้จะเรียกว่า เป็นของเที่ยงไหม? ตอบว่าไม่เที่ยง

เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? ตอบว่า เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า

ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน? ไม่ควรพระพุทธเจ้าข้า

อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน?

ตัณหานั่นเอง ได้แก่ กามตัณหา ความทะยานอยาก เกี่ยวด้วยอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ ๖ ประกอบ ด้วยสัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยงถาวร วิภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ ๖ ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ

เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี

นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์ เกิดจากอุปาทานอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ปญฺจุปาทา นกฺขนฺธาทุกฺขา รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้เป็นทุกข์ ปล่อยได้หมดทุกข์

ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่องจะมีใครเป็นทุกข์ และในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานให้หมด ทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คงแต่ธรรมกายเด่นอยู่

เหตุใด พระองค์จึงเน้นสอนหนักไปในทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา?

เมื่อใคร่ครวญโดย สุขุมแล้วจะมองเห็นว่า พระองค์สอนดังนั้น เพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิดใช้วิจารณปัญญาสอดส่องเห็นได้เอง

เช่น พระองค์ตรัสถึง อนิจจังก็เพื่อให้ค้นคิด หา นิจจังตรัสถึง ทุกขังก็เพื่อให้ค้นคิดหา สุขังตรัสถึง อนัตตาก็เพื่อให้คิดหา อัตตา

คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็นเช่นมีคน ๒ คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูงคนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง  ใครมาถามเราว่า คนสองคนนั้นรู้จักไหม

เราตอบว่า คนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่า คนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก

นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตาบอกอัตตาฉันนั้น

อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา? ก็คือ ธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา

ติดหลุดเป็นหัวข้อสำหรับผู้ปฏิบัติ ปล่อยอุปาทานไม่ได้เรียกว่า ติดปล่อยได้เรียกว่า หลุดติด คือ ติดอยู่ในโลก หลุด คือ พ้นจากโลก เรียกว่า โลกุตตระ เข้าแดนพระนิพพาน

ต้องปล่อยอุปาทาน ทั้งในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแห่งเบญจขันธ์ดังกล่าวมานั้น ด้วยตาธรรมกายจึงเป็นวิปัสสนาวิชชาอันจะเป็นทางให้หลุดได้

วิปัสสนาวิชชาแยกได้เป็น ๑๐ ประการ คือ
๑) สัมมสนญาณพิจารณาย่นย่อนามรูปคือความเห็นตามเป็นจริงของนามรูปนั้นๆ

๒) อุทยัพพยญาณคำนึงถึงความเกิดความดับของสังขารร่างกายดังอุทาหรณ์เรียกฟอง น้ำดังที่กล่าวมาข้างต้นคือเห็นเกิดดับๆๆๆติดต่อกันไป

๓) ภังคานุปัสสนาญาณคำนึงถึงแต่ความดับอย่างเดียวให้เห็นว่าสังขารร่างกาย ที่เกิดมาแล้วนี้มันรังแต่จะแตกดับอย่างเดียวและก็จะแตกดับอยู่รอมร่อแล้ว ประหนึ่งเรือนที่ปลูกอยู่ริมตลิ่งทั้งตัวเรือนก็เซซวนชวนจะพังอยู่แล้วด้วย ซึ่งเป็นความจริงแท้เราพูดกันอยู่หยกๆพอขาดคำเราอาจจะตายเพราะโรคภัย อันตรายล้อมอยู่รอบข้างไม่รู้ว่ามันจะปรากฏขึ้นขณะใด

๔) ภยตูปัฏฐานญาณคำนึงให้เห็นว่าสังขารร่างกายเป็นภัยเสมือนสัตว์ดุร้ายไม่ น่าจะเข้าใกล้ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจะหลงนิยมชมชื่นอันจะดูดดึงให้ใจเราหมก มุ่นเป็นเหตุให้ติดอยู่ในภพ

๕) อาทีนวญาณนี่เป็นอีกแง่หนึ่งให้คำนึงถึงโทษแห่งสังขารว่าถ้าเรามีอุปทาน ยึดมั่นอยู่ว่าเป็นตัวเป็นตนของเราแล้วมันจะให้ทุกข์โทษดังกล่าวในประการ ที่ ๔นั้นดุจเดียวกัน

๖) นิพพิทาญาณเมื่อพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งสังขารดังกล่าวมาใน๑-๒-๓-๔-๕ นั้นแล้วก็ให้เกิดปรีชาคิดเบื่อหน่ายสังขารเป็นกำลังไม่อยากได้ใคร่ดีแล้ว

๗) มุญจิตุกัมยตาญาณถึงขั้นนี้ก็ใฝ่ใจที่จะให้พ้นเสียจากสังขารคือไม่อยากมี สังขารแต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทำลายสังขารเสียโดยความโง่ๆเช่นฆ่าตัวตาย ให้ดำเนินการที่จะคิดพ้นจากสังขารโดยอุบายที่ถูกทาง

๘) ปฏิสังขาญาณคิดคำนึงหาทางพ้นต่อไปแต่หาทางออกทางพ้นไม่ได้เพราะมันได้ เกิดมาเป็นสังขารเสียแล้วผะอืดผะอมอย่างนี้เรียกว่ากลืนไม่เข้าคายไม่ออก สำรอกไม่ไหวต่อไปก็ถึง

๙) สังขารุเปกขาญาณวางใจเป็นกลางไว้เท่ากับว่าเมื่อกลืนไม่เข้าคายไม่ออก แล้วก็อมเฉยไว้ก่อนต่อจากนี้จะมีญาณอีกอันหนึ่งเกิดขึ้นคือ

๑๐) อนุโลมญาณคำนึงผ่อนให้เป็นไปตามความที่เป็นจริงของมันนี่เป็นมัชฌิมา ปฏิปทาเดินสายกลางหันเข้าหาอริยสัจจ์ ๔

โดยวิธีดังที่บรรยายมาข้างต้น ว่าโดยรวบรัดตัดความก็หันเข้าหาหลักธรรมกายนั่นเอง

พิจารณาเห็นแจ้งชัดอริยสัจจ์ ๔ ด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา แต่ละอย่างๆ ที่ กล่าวมาใน ๑๐ ข้อนี้ เป็นอาการหรืออารมณ์ของวิปัสสนาที่จะพยุงจิตให้ข้ามขึ้นจากโลกีย์ไปสู่ภูมิโลกุตตระ

คำว่า สังขารร่างกายในที่นี้ หมายถึง นามรูป นั่นเอง

ที่เรียกว่านามรูปนั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ อย่างนี้ รวมกันย่นย่อลง เรียกว่า นามรูป

หลวงพ่อวัดปากน้ำอธิบาย วิปัสสนาวิชชา ไว้ค่อนข้างยาว วิชชาอื่นๆ หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนต่อมาดังนี้

มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจใครบำเพ็ญได้ถึงที่ ย่อมทำได้คือทำให้ใจมีฤทธานุภาพผิดไปจากธรรมดา จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตามนึก

ดังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์นึกจะให้เทวดามนุษย์เห็นกันเทวดาก็มองเห็นมนุษย์มนุษย์ก็มองเห็นเทวดาซึ่งมีปรากฏในเทโวโรหนสูตรนั้น เพราะมีธรรมกาย ธรรมกายนึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

อิทธิวิธี แปลว่า แสดงฤทธิให้ปรากฏได้ต่างๆ ดังเช่น เนรมิตจักร เนรมิตพระกาย และเนรมิตปราสาทราชฐาน ในครั้งทรงทรมานพระเจ้าชมภูบดี จนพระเจ้าชมภูบดีหมดทิฏฐิมานะ แล้วจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอนเป็นต้น

ทิพพจักขุ แปลว่า ตาทิพย์ซึ่งหมายความว่ามองเห็นอะไรๆ ได้หมดไม่ว่าอยู่ใกล้ ไกลอย่างไร ดังเช่น เรื่องพระมเหศวรทดลองพระศาสดาให้ทรงปิดพระเนตรเสียแล้ว พระมเหศวรซ่อนตัวโดยจำแลงตัวให้เล็กแทรกแผ่นดินไปซุกอยู่ในเม็ดทรายใต้เชิ เขาพระสุเมรุ

พระองค์ก็มองเห็นทรงเรียกให้ขึ้นมายังหาว่าเป็นอุบายของ พระองค์จะเดาลักเค้าเอาในที่สุดพระองค์ก็เอาฝ่าพระหัตถ์ช้อนเอาตัวติดขึ้นมาพร้อมกับเมล็ดทรายนั้นให้เห็นประจักษ์

ตาทิพย์นี้แม้สาวกของพระองค์ก็มีได้ เอาตามนุษย์ ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมซ้อนกัน แล้วเอาตาธรรมกายมองซ้อน  ตากายอรูปพรหมจะเห็นชัดคล้ายกับว่า แว่นหลายๆ ชั้นซ้อนกัน

ทิพพโสต แปลว่า หูทิพย์ใครจะพูดอะไรกันที่ไหนได้ยินหมดโดยเอาแก้วหูกายมนุษย์ ทิพย์รูปพรหมอรูปพรหมซ้อนกันตลอดแก้วหูของธรรมกายย่อมสัมฤทธิ์ผลเป็นหู ทิพย์ได้ยินอะไรหมด

ปรจิตตวิชชา แปลว่า ความรู้ที่สามารถทำให้ล่วงรู้ถึงวารจิตของผู้อื่นได้ดัง มีเรื่องพวกยักษ์เป็นอุทาหรณ์คิดว่าจะตั้งปัญหาถามพระศาสดาถ้าแก้ไม่ได้จะ จับโยนข้ามมหาสมุทรครั้นมาถึงก็เรียกพระองค์ว่ามานี่ยังมิทันจะได้พูดอะไร ต่อไปพระองค์ก็ล่วงรู้เสียก่อนแล้วว่าอาฬวกยักษ์คิดมาอย่างไรพระองค์ทรงตอบ เย้ยไปว่าจะเรียกตถาคตไยเล่าเข้าไปหาท่านจะจับเราโยนข้ามมหาสมุทร

แล้วในที่สุดได้ตรัสตอบไปว่าปัญหาที่ท่านคิดจะถามเรานั้นพ่อของท่านบอกไว้ใช่ไหมแล้ว เราจะบอกท่านได้ต่อไปด้วยว่าพ่อท่านได้รับบอกมาจากพระ กัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ล่วงรู้ใจคนได้อย่างนี้

ปุพเพนิวาสวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ระลึกชาติหนหลังได้ว่าชาติไหนเป็นอะไรเกิด ที่ไหนมาแล้วดังมีเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นหลักฐานไม่มีสิ่งที่จะพึงระแวง สงสัยอย่างไรเป็นองค์แห่งสัมมา-สัมโพธิญาณแน่แท้

อาสวักขยวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้นไปกล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ทั้ง ๔ ประการนี้ พระองค์มีทัศนะปรีชาญาณหยั่งรู้วิถี ทางที่ทำให้หมดสิ้นไปไม่มีในพระกมลของพระองค์แม้แต่สักเท่ายองใย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น