ในบทความนี้
มาฟังคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “จรณะ” .ในบทสวดสรรเสริญพุทธคุณต่อไป
ในบทความชุดนี้
ผมจะนำเนื้อหาของหลวงพ่อวัดปากน้ำลงไปเป็นส่วนๆ ถ้าจะมีคำอธิบายเพิ่มเติม
ผมจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำ
ส่วนเนื้อหาของหลวงพ่อวัดปากน้ำจะเป็นตัวอักษรสีน้ำเงิน
จรณะ แปลว่า ประพฤติหรือ ธรรมควรประพฤติ
๑. ศีลสังวร ได้แก่ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
๒. อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ทั้ง
๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้อารมณ์ส่วนที่จะชักนำไปทางชั่ว เข้าติดอยู่ได้
แต่การสังวรเหล่านี้ มีประจำพระองค์เป็นปกติอยู่ มิจำต้องพยายามฝืนอย่างเช่นปุถุชนทั้งหลาย
๓. โภชเนมัตตัญญุตา การรู้ประมาณในการบริโภคพอสมควร
ไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นจริยาที่เราควรเจริญรอยตาม ว่าโดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ถ้ามากเกินไปแทนที่จะ
มีคุณแก่ร่างกายกลับเป็นโทษ
๔. ชาคริยานุโยค ทางประกอบความเพียรทำให้พระองค์ตื่นอยู่เสมอ
คือ รู้สึกพระองค์อยู่เสมอ นิวรณ์เข้าครอบงำไม่ได้เป็นปกติ
๕. สัทธา พระองค์ประกอบด้วยสัทธาอย่างอุกฤษฏ์
ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกเป็นต้น พระองค์ได้บำเพ็ญ ทานบารมี บริจาคของนอกกายทาน อุปบารมี
สละเนื้อเลือด เมื่อทำความเพียรทาน ปรมัตถบารมี สละได้ถึงชีวิตมาแล้วอย่างสมบูรณ์
๖. สติ นั้น ได้แก่ที่เรียกว่า สติวินัย
พระองค์ไม่เผลอในกาลทุกเมื่อ เราผู้ปฏิบัติควรเจริญรอยตามดังแนวที่ทรงสอนไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร
ไม่ว่าจะ เดิน ยืน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่เสมอ
สติในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านหมายเอาสติที่ตรึกถึง กาย เวทนา จิต ธรรม
ตรงนี้ขอให้พิจารณาดูว่า
หลวงพ่อวัดปากน้ำเข้าใจสติปัฏฐานสูตรดีกว่าทุกสำนักปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อวัดปากน้ำเทศน์เรื่องสติปัฏฐานสูตรไว้ในหลายที่หลายแหล่ง การสอนนั้น
ถูกต้องตามพระสูตรกับพระวินัยถูกประการ
เห็นกายในกาย
เห็นจิตใจจิต เห็นเวทนาในเวทนา เห็นธรรมในธรรม
หลวงพ่อวัดปากน้ำอธิบายได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์ ปฏิบัติตามก็ได้ผลตามคำสอนทุกประการ
ขอให้ดูสติปัฏฐานสูตร
ในส่วนท้ายของกายานุปัสสนา ดังนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
พิจารณ เห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ฯ
นอกจากนั้นแล้ว
ข้อความที่สำนักอื่นๆ อธิบายไม่ได้เลย ก็คือ ข้อความนี้ “พิจารณาเห็นกายในกาย
ทั้งภายในภายนอกบ้าง”
ข้อความนั้น
หมายถึงว่า เราต้องเห็นกายในกายของคนอื่น ต้องเห็นกายในกาย ณ ภายใน ณ
ภายนอกของคนอื่น
คำว่า
คนอื่นนั้น ไม่ได้คนที่ยืนอยู่ข้างๆ เรา
ต้องหมายความรวมถึงคนที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ฯลฯ ด้วย
พวกที่ไม่ยอมเห็นอะไร
แม้ในกายของตัวเอง จะทำอย่างไร
๗. หิริ การละอายต่อความชั่ว
๘. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวบาป ทั้ง ๒
ประการนี้เป็นจรณะที่ติดประจำพระองค์อยู่ อย่างสมบูรณ์
๙. พาหุสัจจะ ฟังมาก นี่ก็มีประจำพระองค์มาแต่ครั้งยังสร้างบารมี
พระองค์ทรง เอาใจใส่ฟังธรรมในสำนักต่างๆ เป็นลำดับมา จนกระทั่งอาฬารดาบสและอุทกดาบส
ซึ่งได้ทรงเรียนรู้รูปฌานอรูปฌานมาจากสำนักนี้
๑๐. อุปักกโม ความเพียรไม่ละลด ดั่งเช่นทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
๕ เป็นประจำ
๑) เวลาเช้า บิณฑบาต
๒) เวลาเย็น ทรงแสดงธรรม
๓) เวลาค่ำ ทรงประทานพระโอวาทแก่ภิกษุ
๔) เวลาเที่ยงคืน ทรงเฉลยปัญหาเทวดา
๕) เวลาใกล้รุ่ง พิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรด
๑๑. ปัญญา มีความรู้ความเห็นกว้างขวาง หยั่งรู้เหตุรู้ผลถูกต้อง
ไม่มีผิดพลาด
จรณะยังประกอบด้วยรูปฌานอีก ๔ จึงรวมเป็นจรณะ ๑๕
รูปฌาน ๔ นั้นพระองค์ได้อาศัยมาเป็นประโยชน์ที่จะขยับขยายโลกิยปัญญาให้เป็นโลกุตตระเป็นพวกสมาธินั่นเอง
แลในจำพวกสมาธินั้น อัปปนาสมาธิจึงเป็นองค์ปฐมฌาน แม้กระนั้นยังเป็นโลกีย์
ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย หยั่งรู้ด้วยญาณธรรมกายจึงเป็นโลกุตระ
ฌาน ๘ นั้นเป็น จรณะส่งข้ามโลก พระองค์เรียนฌานนั้นจากดาบส
ต่อจากนั้นพระองค์มาแสวงหาด้วย พระองค์เองจึงได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์อรหันตสัมมาสัมพุธโธ
ที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น
คือ คำเทศน์เรื่อง “จรณะ” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น